การจัดตั้ง “เงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์”
ในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณให้ไว้เป็นทุนช่วยเหลือสหกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น สหกรณ์ขายข้าวและพืชผลร้านสหกรณ์และสหกรณ์นิคมกสิกรรม ฯลฯ โดยมอบให้กรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตราธิการเป็นผู้พิจารณาจัดสรรให้สหกรณ์ประเภทต่างๆ กู้เพื่อเป็นทุน เรียกว่า“ทุนส่งเสริมการสหกรณ์” โดยให้สหกรณ์ประเภทต่างๆ นอกจากสหกรณ์ประเภทหาทุนกู้ไปขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สหกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือนี้ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ที่ดินและสหกรณ์พาณิชย์ ต่อมากระทรวง การคลังได้เห็นชอบให้รวมเงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากเงินงบประมาณปี 2491 และปี 2492 เข้าด้วยกัน ซึ่งขณะนั้นมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 25.768 ล้านบาท จัดตั้งเป็น “เงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นรัฐบาลได้ให้งบประมาณเพิ่มเติมเป็นรายปีจนถึงสิ้นปี พ.ศ.2500 มีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 91.904 ล้านบาท(ตามรายงานครบรอบ 50 ปีของสหกรณ์ในประเทศไทย)
ต่อมาได้มีการจัดตั้งเงินทุนต่างๆ เพื่อส่งเสริมกิจการสหกรณ์อีก ดังนี้
ปี 2509 เงินทุนหมุนเวียนจัดสหกรณ์ที่ดินและอาคาร
ปี 2513 เงินทุนหมุนเวียนจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม
ปี 2518 เงินทุนหมุนเวียนโครงการเร่งรัดพัฒนาดินเปรี้ยวเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ปี 2520 เงินทุนหมุนเวียนให้สหกรณ์ร้านค้ากู้ยืม
ปี 2520 เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อให้สหกรณ์การเกษตรกู้ยืมสำหรับสร้างฉาง ซื้อและปรับปรุงที่ดิน
ปี 2523 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด
การจัดตั้ง “เงินทุนหมุนเวียนสหกรณ์”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณาเห็นว่า เงินทุนหมุนเวียนที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ มีอยู่หลายเงินทุน แต่ละเงินทุนมีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะ ทำให้การใช้ประโยชน์จากแต่ละเงินทุนมีจำกัด กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอรวมเงินทุนต่างๆ เข้าด้วยกัน และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบตามหนังสือ ที่ กค 0507/119 ลงวันที่ 4 มกราคม 2527 ให้รวมเงินทุนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จำนวน 7 เงินทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเข้าเป็นเงินทุนหมุนเวียนเดียวกัน รวมเป็นเงิน 339.442 ล้านบาท ใช้ชื่อว่า “เงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการสหกรณ์” ขึ้นในกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ โดยการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้สหกรณ์ต่าง ๆ กู้ยืมไปดำเนินธุรกิจให้บริการแก่สมาชิก แต่เนื่องจากความต้องการใช้เงินทุนมีจำนวนมาก ไม่สามารถจะพิจารณาสนับสนุนให้แก่ทุกสหกรณ์ได้ เพราะจำนวนเงินมีจำกัด ดังนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้ขอตั้งงบประมาณประจำปี เพื่อขอเพิ่มจำนวนเงินทุน และได้รับงบประมาณ ดังนี้
ปี 2533 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 6.254 ล้านบาท
ปี 2534 ได้รับเงินงบประมาณตามโครงการจัดการผลิตและการตลาดกระเทียมหอมแดงและหอมหัวใหญ่ จำนวน 100.000 ล้านบาท
ปี 2535 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 49.000 ล้านบาท (โครงการนิคมสหกรณ์อีสานพัฒนา จำนวน 40.000 ล้านบาท โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยจากไต้ฝุ่นเกย์ 9.000 ล้านบาท)
ปี 2536 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 30.000 ล้านบาท (โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยจากไต้ฝุ่นเกย์ 9.000 ล้านบาท โครงการเร่งรัดเพิ่มผลผลิตสหกรณ์ ผู้ใช้น้ำ 10.000 ล้านบาท โครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานในเขต นิคมสหกรณ์ 11.000 ล้านบาท)
ปี 2538 ได้รับเงินงบประมาณสำหรับให้สหกรณ์ขนาดเล็กไม่มีแหล่งเงินทุนกู้ยืม จำนวน 200.000 ล้านบาท
ปี 2539 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 700.000 ล้านบาท
ปี 2540 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 450.000 ล้านบาท
รวมทั้งสิ้น 1,874.696 ล้านบาท
การจัดตั้ง “เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์”
กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้ตั้งขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542 โดยมีเงินทุนแรกตั้ง จำนวน 2,286.350 ล้านบาท ซึ่งมีที่มาของเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
-โอนเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 134 (วรรคท้าย) จำนวน 2,118.910 ล้านบาท
-เงินทุนส่งเสริมการศึกษาทางสหกรณ์ จำนวน 99.820 ล้านบาท
-เงินสมทบจาก ADB จำนวน 67.620 ล้านบาท
ต่อมาได้รับงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม ดังนี้
-ปีงบประมาณ 2543 จำนวน 50.000 ล้านบาท
-ปีงบประมาณ 2544 จำนวน 50.000 ล้านบาท
-ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 531.610 ล้านบาท (เงินโครงการพัฒนาธุรกิจโคนม ตามโครงการงบกลางเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ 2545 จำนวน 600.000 ล้านบาท ส่งคืนรายได้แผ่นดินจำนวน 68.390 ล้านบาท คงเหลือ 531.610 ล้านบาท)
ในปี พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545 ได้โอนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ไปตั้งไว้ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม ดังนี้
-ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 50.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ตามนโยบายของรัฐ 50.000 ล้านบาท)
-ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 139.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ตามนโยบายของรัฐ 50.000 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์เพื่อส่งเสริมสมาชิกปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ 89.000 ล้านบาท)
-ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 100.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์เพื่อส่งเสริมสมาชิกปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ 90.000 ล้านบาท และโครงการรวบรวมปาล์มน้ำมัน 10.000 ล้านบาท)
-ปีงบประมาณ 2554 จำนวน 116.800 ล้านบาท (โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริและโครงการหลวง 16.800 ล้านบาท และโครงการบริหารจัดการตลาดผลไม้ของสหกรณ์ 100.00 ล้านบาท)
นอกจากนี้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ยังได้รับเงินบริจาคจากสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Agricultural Sector Program Loan : ASPL) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2554 รวมเป็นเงิน 484.322 ล้านบาท
ฐานะการเงินของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ณ วันต้นปีงบประมาณ 2555 มีเงินทุน จำนวน 4,527.983 ล้านบาท ประกอบด้วย
-เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 3,323.765 ล้านบาท
-เงิน ADB โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 12.057 ล้านบาท
-เงิน ASPL จำนวน 484.322 ล้านบาท
-รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย(สะสมตั้งแต่ปี 2542-2554) จำนวน 707.839 ล้านบาท
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดน่าน
479 หมู่ 2 ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000
โทรศัพท์. 0-5471-9439 โทรสาร. 0-5471-9440 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดน่าน
Copyright © 2023 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดน่าน
ภาพประกอบโดยเว็บไซต์ freepik.com pixabay.com flaticon.com